
หลายคนคงทราบกันดีว่า เมื่อเราใช้งานเครื่องออกกำลังไม่ว่าชนิดใดก็ตาม หากใช้งานไปสักระยะหนึ่งแล้ว เครื่องออกกำลังกายจะมีปัญหาต่างๆ ตามมา วิธีดูแลรักษาลู่วิ่งไฟฟ้า จึงสำคัญที่ควรดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เรามาดูกันดีกว่าว่า วิธีดูแลลู่วิ่งไฟฟ้า มีอะไรบ้าง วิธีง่ายๆ สามารถทำตามได้ที่บ้าน
1. วิธีตั้งสายพานกินขอบข้าง

หลังจากเราซื้อลู่วิ่งไฟฟ้ามาแล้ว เราเคยสังเกตเห็นตรงส่วนสายพานลู่วิ่งบ้างรึเปล่าครับว่าอยู่ตรงกลางพอดีระหว่างขอบหรือไม่ หรือหลังจากใช้งานสักระยะแล้ว สายพานเริ่มกินขอบบ้างรึเปล่า เราต้องใส่ใจเรื่องเช่นกัน เพราะถ้าสายพานชิดขอบมากเกินไป อาจทำให้ลู่วิ่งของเราทำงานหนักมากขึ้น จนทำให้อายุการใช้งานของลู่วิ่งเริ่มสั้นลงเรื่อยๆ
วิธีแก้สายพานกินขอบ เราสามารถปรับได้ง่ายๆ เลยครับ โดยให้ใช้ 6 เหลี่ยมที่ติดมากับลู่วิ่งใช้ขันตามเข็มนาฬิกา พร้อมทดสอบ 1 รอบ ด้วยความเร็ว 4-6 ระดับ ยกตัวอย่างเช่นหากสายพานลู่วิ่งกินขอบฝั่งซ้าย ให้ใช้ 6 เหลี่ยมมาปรับฝั่งซ้าย เพื่อปรับสายพานให้อยู่ตรงกลางพอดีระหว่างขอบ เป็นต้น สามารถทำตามง่ายๆ ตามรูปด้านล่างนี้เลยครับ

2. ทำไมต้องใช้ปลั๊กต่อพ่วง
ปลั๊กต่อพ่วง เป็นอุปกรณ์สำหรับการต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทีวี พัดลม ลู่วิ่งไฟฟ้า และอื่นๆ ซึ่งช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ใช้งานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ เสียหายได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไม่เสถียรหรือไฟฟ้าลัดวงจร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายได้ง่ายๆ เลยครับ เนื่องจากกำลังไฟฟ้าในบ้านมีมากเกินไป และการใช้ปลั๊กต่อพ่วงจะช่วยป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ได้ และยังช่วยยืดอายุของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อีกด้วย

นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรเสียบกับปลั๊กต่อพ่วงดีกว่าการเสียบกับไฟฟ้าบ้านโดยตรง ช่วยเซฟลู่วิ่งไฟฟ้าของเราได้ครับ เพื่อไม่ให้ไฟฟ้าเข้าแผงโดยตรง เพราะอาจเกิดอาการช็อตได้ ไม่ว่าช่วงไฟฟ้าดับ หรือลัดวงจรครับ
3. วิธีทำความสะอาดลูวิ่งไฟฟ้า
การทำความสะอาดลู่วิ่งไฟฟ้า ส่งผลดีอย่างไม่ต้องสงสัยเลย เพราะว่านอกจากทำให้ลู่วิ่งไฟฟ้าดูสะอาดน่าใช้งานแล้ว ยังช่วยลดความเสียหายต่างๆ เช่นฝุ่น เหงื่อ และอื่นๆ การทำความสะอาดลู่วิ่งไฟฟ้าเป็นเรื่องง่ายๆ ก็สามารถยืดอายุการใช้งานของลู่วิ่งไฟฟ้าได้แล้วครับ

เริ่มต้นการทำความสะอาดง่ายๆ โดยหมั่นเช็ดภายนอกลู่วิ่งไฟฟ้าให้บ่อยๆ ด้วยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาเช็ดส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผงควบคุมหน้าจอ ราวจับ และส่วนอื่นๆ ทุกๆ ครั้งหลังจากใช้งานลู่วิ่ง เราควรน้ำผ้ามาชุบน้ำสะอาด มาเช็ดส่วนต่างๆ ทันที เพราะเหงื่อจะกัดส่วนต่างๆ ได้ ซึ่งอาจเกิดสนิม และทำให้ส่วนอื่นๆ เสียหายไปด้วยครับ
4. วิธีดูแลสายพานด้วยการฉีดสเปรย์
เมื่อคุณใช้งานลู่วิ่งไฟฟ้าไปสักระยะหนึ่งแล้ว สายพานลู่วิ่งเกิดขัดข้องอาจส่งผลให้ลู่วิ่งไฟฟ้าเริ่มมีอายุใช้งานสั้นลงเรื่อยๆ เราจึงจำเป็นที่ต้องดูแลสายพานอย่างสม่ำเสมอประมาณ ครึ่งเดือนฉีด 1-2 ครั้ง เพื่อลดความเสียหายที่เกิดจากสายพานได้

ส่วนวิธีดูแลสายพานง่ายๆ และใช้เวลาไม่นาน ด้วยการฉีดสเปรย์หล่อลื่นใต้สายพานทั้ง 2 ข้าง โดยยกสายพานแล้วฉีดสเปรย์ขึ้นบนลงล่าง 3 รอบ และเปิดลู่วิ่งไว้ 2-3 นาที เพื่อให้น้ำยาเคลือบสายพานและไม้กระดาน
5. วิธีดูแลโช้คและข้อต่อต่างๆ ไม่ให้มีเสียงดัง
เราเชื่อว่ามีหลายคนเคยพบเจอกับเสียงที่เกิดขึ้นจากลู่วิ่งไฟฟ้า โดยเฉพาะลู่วิ่งที่ใช้งานบ่อยๆ หรือใช้งานผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว เริ่มมีเสียงออกมาให้เราได้ยิน ถ้าหากลู่วิ่งของคุณมีเสียงดังเวลาที่คุณวิ่ง ให้เราตรวจเช็คโช้คและข้อต่อต่างๆ ว่ามีส่วนไหนบ้างที่ผิดแปลกไป สามารถทำตามได้ดังนี้
- ให้เราพับลู่วิ่งให้เรียบร้อยก่อน เพื่อเริ่มขั้นตอนการตรวจเช็คและดูแลโช้คและข้อต่อส่วนต่างๆ

- เราตรวจสอบตรงส่วนของลูกยางที่อยู่ด้านข้างของไม้กระดาน ให้ลองหมุนดูว่าลูกยางหลวมรึเปล่า

- ให้เราตรวจสอบข้อต่อส่วนล่าง จะมีอยู่ด้วยกัน 4-6 จุด จากนั้นให้ลองหมุนน็อตดูก่อนว่าหลวมรึเปล่า ถ้าหากหลวมให้เราขันน็อตให้แน่นและฉีดสเปรย์หล่อลื่น เพื่อช่วยลดอาการเสียงดังได้ครับ

6. วีดีโอวิธีดูแลรักษาลู่วิ่งไฟฟ้า
7. สรุป
ลู่วิ่งไฟฟ้า ก็เหมือนของเครื่องใช้ชนิดต่างๆ ที่มีความจำเป็นที่ต้องดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าลู่วิ่งไฟฟ้าของคุณจะราคาสูงขนาดไหน ก็ยังจำเป็นที่ต้องรักษาความสะอาดอยู่ดี เพื่อลดความเสียหายต่างๆ และช่วยยืดอายุของลู่วิ่งใช้งานได้นานมากขึ้น และวิธีดูแลรักษาลู่วิ่งไฟฟ้า ที่เราได้บอกไปนั้น จะเป็นตัวช่วยดูแลลู่วิ่งของคุณได้ดีมากยิ่งขึ้น ลองนำไปปรับใช้กันดูครับ
สำหรับลูกค้าท่านใดที่สนใจ ลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีคุณภาพ นำไปใช้งานในบ้าน เรามีให้เลือกหลายรุ่น สามารถเข้ามาชมได้เลย และหากมีอะไรอยากสอบถาม สามารถติดต่อเข้ามาได้เลยครับ เรายินดีให้คำปรึกษา
บทความแนะนำ
วิธีใช้จักรยานออกกำลังกายที่ถูกต้อง และช่วยลดน้ำหนักได้เร็วขึ้น 2 เท่า มีวิธีออกกำกายแบบไหนบ้าง? บทความนี้มีคำตอบให้